หน่วยที่ 3 การพิมพ์ข้อความ

   การพิมพ์ข้อความของแรแกรม Adobe PageMaker จะคล้ายกับโปรแกรม Microsoft Word
เพราะฉะนั้น ถ้าผู้เรียนมีพื้นความรู้ในการใช้โปรแกรม Microsoft Word ก็จะง่ายขึ้น

การกำหนดรูปแบบของตัวอักษร
     กิจกรรมที่ 3.1
1.ให้นักศึกษาสร้างไฟล์ใหม่ขนาด A4
2.ให้นักศึกษาพิมพ์ข้อความ 1 ประโยค เช่น การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

โดยปฏิบัติดังนี้
1.ลิกที่รูปเครื่องมือ Text Tool (รูปตัว T)
2.คลิกตำแหน่งที่ต้องการพิมพ์ในพื้นที่งาน (ในที่นี้ให้คลิกที่แถวแรกหรือแถวที่ต้องการพิมพ์)
3.กำหนดมุมมอง = 100%
4.กำหนดรูปแบบตัวอักษร
5.พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
6.เลือกสีตัวอักษรที่ต้องการที่ Palette ที่ชื่อ Colors (ถ้าไม่มีใครคลืกที่เมนู Window
--> Show colors) โดยทำแถบสีคลุมตัวอักษร แล้วเลือกสี
7.จะปรากฏข้อความตามรูปแบบที่ต้องการดังนี้


 
การกำหนดรูปแบบของข้อความ
 การกำหนดรูปแบบของข้อความสามารถกำหนดได้ 3 วิธี คือ
 วิธีที่ 1 กำหนดที่เมนู โดยปฎิบัติดังนี้
     1.ทำแถบสีคลุมข้อความที่ต้องการ
     2.คลิกที่เมนู Type
     3.กำหนดรูปแบบตัวอักษร, ขนาด, ชนิด ตามที่ต้องการที่ Font, Size, Type Style
เป็นต้น
4.กำหนดรูปแบบของข้อความ
          Align Left       จัดข้อความชิดซ้าย
          Align Center     จัดข้อความอยู่ตรงกลาง
          Align Right      จัดข้อความชิดขวา
          Justify          จัดข้อความเสมอขอบทั้งสองด้าน
          Force Justify    จัดข้อความคล้ายกับ
          Justify          แต่จัดบรรทัดสุดท้ายให้เต็มบรรทัดด้วย

 วิธีที่ 2 กำหนดที่ Control Pallet
1.ทำแถบสีคลุมข้อความที่ต้องการ
2.กำหนดรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร, ขนาด
3.และรูปแบบ

 
N = Normal                     ตัวอักษรปกติ
B = Bold                       ตัวอักษรหนา
      I = Italic                     ตัวอักษรเอียง
      U = Underline                  ตัวอักษรขีดเส้นใต้ 1 เส้น
      R = Reverse                    ไว้ด้านหลัง
      Q = Strikethrough              เส้นขีดทับ
      c = Small Cap                  ตัวพิมพ์ใหญ่ขนาดเล็ก
      C = All Cap                    ตัวพิมพ์ใหญ่
      S (บน) = Superscript           ตัวยก
      S (ล่าง) = Subscript            ตัวห้อย

4.กำนหดรูปแบบของข้อความ ให้คลิกที่ตัว q ที่อยู่ด้านล่างตัว T

 
 กิจกรรมที่ 3.2
  ให้นักศึกษากำหนดรูปแบบข้อความอยู่ตรงกลางกระดาษ

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์


 

 กิจกรรมที่ 3.3
 ให้นักศึกษาสร้างงานใหม่ แล้วพิมพ์ข้อความและจัดรูปแบบดังตัวอย่างต่อไปนี้ ทั้งนี้ใน
การย่อหน้า จะมีการย่อหน้าอัตโนมัติ ให้นักศึกษาให้แป้น TAB 1 ครั้ง แล้วพิมพ์ข้อความจนครบ
(แต่ละบรรทัดไม่ต้องกดแป้น Enter เหมือนแบบ โปรแกรมจะขึ้นบรรทัดใหม่ให้เอง)
 

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

             สื่อสิ่งพิมพ์จัดได้ว่า   เป็นสื่อที่ช่วยในการเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง และเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดสื่อหนึ่งเพราะนอกจากจะสะดวกแล้วยังเป็นการประหยัดงบประมาณได้อย่างมากและสามารถเก็บไว้ดูได้เป็นเวลานานอีกด้วย  สื่อสิ่งพิมพ์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งนอกจจากวิทยุกระจายเสียง, โทรทัศน์, แผ่นป้ายโฆษณา ฯลฯ



        จะสังเกตว่า การตัดคำนั้นไม่สวยงาม แต่ละบรรทัดห่างกันจนเกินไป ให้นักศึกษาใช้
แป้นเคาะเว้นวรรคช่วยในการจัด โดยเคาะตรงบริเวณคำที่สมารถตัดได้ (อ่านแล้วได้ใจความ)
ทีละบรรทัด


การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

           สื่อสิ่งพิมพ์จัดได้ว่า   เป็นสื่อที่ช่วยในการเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง และเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดสื่อหนึ่งเพราะนอกจากจะสะ
ดวกแล้วยังเป็นการประหยัดงบประมาณได้อย่างมากและสามารถเก็บไว้ดูได้เป็นเวลานานอีกด้วย  สื่อสิ่งพิมพ์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งนอกจจากวิทยุกระจายเสียง, โทรทัศน์, แผ่นป้ายโฆษณา ฯลฯ




เสร็จแล้วจึงจัดข้อความแบบ Justify และเน้นข้อความที่เป็นหัวข้อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

    สื่อสิ่งพิมพ์จัดได้ว่าเป็นสื่อที่ช่วยในการเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง และเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดสื่อหนึ่ง เพราะนอกจากจะสะดวกแล้วยังเป็นการประหยัดงบประมาณได้อย่างมากและสามารถเก็บไว้ดูได้เป็นเวลานานอีกด้วย  สื่อสิ่งพิมพ์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งนอกจจากวิทยุกระจายเสียง, โทรทัศน์, แผ่นป้ายโฆษณา ฯลฯ






วิธีที่ 3 ให้ดับเบิลคลิกที่รูปเครื่องมือ Text Tool จะปรากฏ Dialog

               Font                       ชนิดของตัวอักษร
               Size                       ขนาดของตัวอักษร
               Leading                    ระยะห่างระหว่างบรรทัด
               Horiz scale                ปรับแบบตัวอักษร
               Color                      สีตัวอักษร
               Tint                       ความเข้มจางของสีตัวอักษร
               Type style                 รูปแบบตัวอักษร
                                                                                              Italic                                                                       Reverse                     ไว้ด้านหลัง
Strike thru                 ขีดทับตัวอักษร
Position                    ตำแหน่งตัวอักษร
Normal                      ตัวปกติ        Superscript                 ตัวยก เช่น การพิมพ์เลขยกกำลังSubscript                   ตัวห้อย เช่น การพิมพ์เลขฐาน
Case                        เปลี่ยนพิมพ์อักษ
Normal                      ปกติ
All Caps                    พิมพ์ขนาดใหญ่ขึ้น
Small Caps                  เปลี่ยนพิมพ์เล็กให้ใหญ่
Track                       ช่องไฟอักษร    
No track                    ไม่มีการเว้นช่องไฟ
Very loose                  ช่องไฟห่างมาก
Loose                       ช่องไฟห่าง
Normal                      ช่องไฟปกติ
Tight                       ช่องไฟแคบ
Very Tight                  ช่องไฟแคบมาก

วิธีการใช้ Pointer Tool กับข้อความ
    เมื่อมีการพิมพ์ข้อความแต่ละย่อหน้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถที่จะจัดรูปแบบให้พอดี
กับส่วนที่ต้องการ เช่น ต้องการที่จะเลื่อนขึ้นหรือเลง และเว้นด้านใดด้านหนึ่งไว้ใส่รูปภาพประกอบ

          กิจกรรม
          ให้พิมพ์ข้อความ

เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ปฎิบัติดังนี้
1.ให้คลิกที่รูปเครื่องมือ Pointer แล้วคลิกที่บริเวณข้อความ จะปรากฏเส้นขึ้นทั้ง
ด้านบนและด้านล่าง
2.กดเมาส์ค้างไว้ที่บริเวณจุดสีดำของปลายแส้นด้านขวามือ
3.ลากมาทางว้ายตามที่ต้องการ ดังตัวอย่าง




4.ข้อความบางส่วนจะหายไป ให้สังเกตเส้นด้านล่าง จะมีรูปลูกศรสีแดง แสดงว่า
ยังมีข้อความอยู่ด้านล่าง




 
 
5.ให้กดเมาส์ค้างไว้ที่บริเวณลูกศรสีแดง แล้วลากลงมาจนกว่าจะมีข้อความจนครบ









6.เสร็จแล้วให้จัดรูปแบบให้สวยงาม โดยจัดบรรทัดให้พอดี แล้วจัดรูปแบบ Justify



 
 
การย้ายข้อความ
    เมื่อจัดรูปแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถที่จะย้ายข้อความไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ของ
หน้ากระดาษ

กิจกรรม
 ให้นักศึกษานำข้อความที่พิมพ์ข้างต้นที่อยู่ด้านซ้ายมือมาปฎิบัติในการย้ายข้อความ โดย
ใช้เครื่องมือ Pointer Tool ทำการย้ายไปอยู่ด้านขวามือ






การหมุนข้อความ
 เพื่อความสวยงามหรือเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับข้อความ อาจจะหมุนข้อความให้ดู
สะดุดตาได้ดังนี้

        กิจกรรม
          ให้นักศึกษาพิมพ์ข้อความดังนี้







แล้วปฎิบัติดังนี้
1.คลิกที่รูปเครื่องมือ Pointer Tool
2.คลิกที่ข้อความ แล้วย่อเส้นให้พอดีกับตัวอักษร
3.คลิกที่รูปเครื่องมือ Rotate Tool
4.กดเมาส์ค้างไว้บริเวณตรงกลางของข้อความืแล้วลากออกมาด้านใดด้านหนึ่ง
แล้วทำการหมุนข้อความตามที่ต้องการ

การพิมพ์ข้อความในกรอบ
  การพิมพ์ข้อความสามารถกำหนดข้อความให้อยู่ภายในกรอบที่ต้องการ ไม่ต้องจัดใน
ภายหลังก็ได้
กิจกรรม
      ให้นักศึกษาพิมพ์ข้อความดังนี้
 1.คลิกที่รูปเครื่องมือ Rectangle Frame Tool
 2.ลากกรอบสี่เหลี่ยมพอประมาณตามที่ต้องการ
 3.เมื่อปล่อยเมาส์จะปรากฏรูปดังนี้







4.คลิกที่รูปเครื่องมือ Text Tool





5.คลิกที่บริเวณที่ลากกรอบสี่เหลี่ยมไว้ (จะเป็นรูปกากบาท) เมื่อคลิกแล้วรูป
กากบาทจะหายไป แล้วให้เริ่มพิมพ์ข้อความตามที่ต้องการ
6.เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว ก็สามารถที่จะจัดรูปแบบของข้อความให้สวยงามได้ และสามารถ
ย้ายไปวางตำแหน่งที่ต้องการ